ss JIPATA INDEX นานาสาระน่ารู้

Latest Post

ร่งสปีดเน็ตให้กับเครื่องเรา


คงเป็นเพราะกระแสของผู้ใช้ไฮสปีดอินเทอร์เน็ตที่พุ่งทะลุเพดานอยู่ทุกวันนี้ ได้ยินคำถามจากผู้ใช้อยู่เป็นประจำเกี่ยวกับเทคนิคในการเพิ่มความ เร็วให้กับการเชื่อมต่อบรอดแบนด์บนระบบปฏิบัติการ Windows XP Pro โดยเฉพาะปี 2007 ปกติที่ ดีฟอลต์ ระบบปฏิบัติการ Windows XP Pro จะมีการสำรองแบนด์วิดธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วยส่วนหนึ่ง แต่คุณสามารถเปลี่ยนแปลงค่าดังกล่าว เพื่อใช้แบนด์วิดธ์ส่วนนี้ได้อย่างง่ายดาย ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับ
1.ขั้นแรกคลิ้กปุ่ม Start เลือกคำสั่ง Run พิมพ์ gpedit.msc
2.แล้วคลิ้กปุ่ม OK ไดอะล็อกบ็อกซ์ Group Policy
3.คุณจะพบรายการ Local Computer Policy คลิ้กเครื่องหมายบวกที่อยู่หน้ารายการ เพื่อเปิดเซกชัน Administrative Templates
4. คลิ้กเครื่องหมายบวกหน้ารายการ Network
5.คลิ้กเลือกรายการ QoS Packet Scheduler ในกล่องด้านขวา
6.ดับเบิ้ลคลิ้ก Limit Reservable Bandwidth เลือก Enabled เปลี่ยน Bandwidth limit เป็น 0%
7.คลิ้ก Apply ตามด้วยปุ่ม OK
8.รีสตาร์ตเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
แล้วลองสัมผัสประสบการณ์ความเร็วในการท่องเน็ตไฮสปีดที่เพิ่มขึ้นด้วยตาของคุณเองครับ
http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=67707

ไม่อยากเป็นผู้หญิงกลิ่นตัวแรง อ่านตรงนี้

ไม่ว่าใครก็ชอบกลิ่นหอมชื่นใจด้วยกันทั้งนั้น แต่ถ้าเมื่อไรต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นกายฉุนกึก สาวๆ จงอย่ารอช้า ขอให้รีบหาทางแก้ไขโดยด่วน

กลิ่นตัวเกิดจากต่อมเหงื่อที่ผลิตสารสีขาวขุ่นออกมา แล้วถูกย่อยโดยเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาศัยอยู่บนผิวหนัง จึงทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ โดยมักจะเกิดที่บริเวณใต้วงแขนมากกว่าส่วนอื่น ซึ่งมีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุของกลิ่น
● ฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก ก็ทำให้เกิดกลิ่นตัวเช่นกัน
● สภาพอากาศ ในสภาพอากาศร้อนหรือร้อนชื้น เชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจะเพิ่มจำนวนมากเป็นพิเศษ และเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นตัวได้ง่ายและรุนแรงขึ้น
● เสื้อผ้า เสื้อผ้าเนื้อหนาหรือผ้าใยสังเคราะห์จะระบายเหงื่อได้ช้าและเกิดความอับชื้นได้ง่าย
● อารมณ์ ความเครียด โกรธ หรือตกใจ จะกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ
● อาหาร ที่มีสารโคลีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ พืชประเภทฝักถั่ว หัวหอม กระเทียม และเครื่องเทศ รวมถึงการรับประทานอาหารรสจัด ล้วนแต่เร่งให้ต่อมเหงื่อขับไขมันออกมามากขึ้นทั้งสิ้น
● ภาวะผิดปกติทางร่างกาย เช่น การทำงานที่บกพร่องของระบบเผาผลาญอาหารบางระบบ หรือระบบการย่อยของเอนไซม์ ทำให้ร่างกายสร้างสารเคมีบางอย่างที่มีกลิ่นแล้วขับออกมาทางเหงื่อ
● ยา เช่น ยาทารักษาสิวทั่วไปที่มีส่วนผสมของ Benzoyl Peroxide มีผลข้างเคียงทำให้เกิดกลิ่นตัว
สารพัดวิธีกำจัดกลิ่น1. อาบน้ำให้สะอาด โดยอาจเลือกสบู่ที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายควบคู่กัน
2. ปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจฉีดโบท็อกซ์ที่ใต้วงแขน เพื่อลดปริมาณเหงื่อให้น้อยลงหรือแห้งสนิท ซึ่งตัวยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน
3. โอ-เลเซอร์ (O-laser) เพื่อทำลายต่อมเหงื่อใต้วงแขน โดยไม่ทำลายเส้นเลือดหรือผิวหนังแต่อย่างใด (Siam Swan Cosmetic Clinic โทร. 0-2260-2561 – 3 ราคา 30,000 บาท)
4. ใช้คลื่น RF ส่งผ่านอุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็ก โดยสอดเข้าไปใต้ผิวหนังบริเวณใต้วงแขนเพื่อลดการทำงานของต่อมเหงื่อ (Meko Beauty โทร. 0-2272-2121 ราคา 30,000 บาทต่อ 6 ครั้ง)
5. ถ้ามีปัญหากลิ่นตัวมากจนเกินเยียวยา แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อตัดต่อมไขมันใต้ผิวหนังออก หรือดูดไขมันบริเวณรักแร้ออก (ราคาประมาณ 15,000 บาท)
ข้อมูลจาก http://www.sudsapda.com/

ขั้นตอน และ เทคนิค การแต่งหน้า อย่างถูกวิธี

เริ่มต้นจากการล้างหน้าให้สะอาด ถึงแม้ว่าจะเป็นการล้างหน้าตอนเช้า เราก็ต้องใส่ใจ จริงอยู่ว่าเราอาจจะไม่มีเครื่องสำอางบนใบหน้า แต่เรายังมีครีมบำรุงที่ยังคงทิ้งร่องรอยไว้ และเซลล์ผิวเก่าที่ร่างกายของเราได้ผลัดเปลี่ยนขณะนอนหลับ ดังนั้น การล้างหน้าให้สะอาดในตอนเช้าจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้หญิงเราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย และต่อมาคือ การบำรุงผิวด้วยมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ รวมทั้งการปกป้องใบหน้าจากแสงแดด ด้วยการใช้ซันบล๊อค และเริ่มเมคอัพกันได้เลยค่ะ

1. ลงคอนซีลเลอร์ 
เพื่อปกปิดริ้วรอยหมองคล้ำรอบดวงตา ทำให้ใบหน้าดูสว่างขึ้น ด้วยการใช้ปลายนิ้วแตะคอนซีลเลอร์ใต้ตา แล้วค่อยๆเกลี่ยให้ชิดขนตาล่าง ให้ยาวตลอดจากหัวตาถึงปลายตา เพื่อให้เกิดความกลมกลื่น
หากคุณเป็นสาวผิวขาว ควรที่จะเลือกคอนซีลเลอร์โทนเหลืองที่ดูสว่าง แต่ถ้าหากคุณเป็นสาวผิวคล้ำ
หรือรอบตาคล้ำมาก เลือกคอนซีลเลอร์ที่ออกชมพูเล็กน้อยค่ะ
2. รองพื้น
มีอยู่มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ครีม น้ำ เจล น้ำมันและแท่ง คุณควรจะเลือกให้เหมาะกับสภาพผิว เช่น
ผิวมันเลือกชนิดบางเบา ในรูปของเจลหรือน้ำ หากผิวแห้งมาก ก็อาจจะเลือกใช้รองพื้นที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือถ้าหากว่าผิวหน้าเป็นสิว ก็ควรเลือกรองพื้นชนิด Oil Free
3. แป้ง 
มีทั้งแป้งฝุ่น แป้งพัฟฟ์และแป้งรองพื้น แป้งที่มีเนื้อบางเบาที่สุดก็คือ แป้งฝุ่น แต่หากว่าคุณต้องการใช้แป้งในการแต่งเติมและพกพาสะดวก ก็ควรใช้แป้งพัฟฟ์เอาติดกระเป๋าไว้ ส่วนแป้งรองพื้นนับว่าเป็นแป้งที่สะดวกใช้เช่นกัน แต่มีจุดด้อยที่แป้งรองพื้นจะมีเนื้อหนา
จะทำให้แต่งหน้าได้ลำบาก เพราะอาจจะดูไม่เป็นธรรมชาติเท่าที่ควร
4. แต่งคิ้วให้ได้รูป 
ด้วยการเขียนคิ้วให้เป็นรูป จากนั้นใช้แปรงปัดขนคิ้ว ปัดให้ขนตั้งเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
และถ้าอยากให้ขนคิ้วอยู่คงรูป ก็อาจจะใช้ปลายนิ้วแตะปิโตรเลี่ยมเจลลี่เบาๆแล้วไล้ที่ขนคิ้วให้อยู่คงรูป เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
5. อายแชโดว์ 
แต่งแต้มเปลือกตา สาวๆรุ่นเล็กอาจจะดูสวยได้แค่ปัดเปลือกตาด้วยสีอ่อนๆ แต่หากต้องการให้เปลือกตาสวยอย่างครบถ้วนและดูดีมีมิติแล้ว ก็ควรจะเลือกแต่งเปลือกตา
ด้วยอายแชโดว์ 3 สี ที่มักจะถูกจับเป็นเซตในตลับ โดยใช้สีอ่อนสุดไล้ให้ทั่วเปลือกตา ด้วยแปรงสำหรับอายแชโดว์โดยเฉพาะ จากนั้นใช้อายแชโดว์สีที่สอง
ที่มีความเข้มปานกลาง ทาเปลือกตาช่วงรอยพับ หรือเวลาที่เราหลับตา
แล้วตานูนออกมานั่นล่ะ ทาให้ทั่วจนถึงขอบขนตา จากนั้นค่อยลงสีที่สาม ที่มีความเข้มมากกว่าสีอื่น
ใช้ปลายของฟองน้ำที่มีในตลับ เขียนเป็นเส้นให้ติดขอบขนตา
6. อายไลเนอร์ 
ขั้นตอนนี้อาจจะไม่จำเป็น หากคุณต้องการให้การแต่งหน้าของคุณดูเป็นธรรมชาติ การเขียนขอบตาด้วยอายไลเนอร์ให้ดูสวยงามก็คือ เขียนให้ชิดกับขอบขนตาและ
อาจจะเขียนเฉพาะขอบตาบนก็ได้ ถ้าหากไม่แน่ใจว่ามือของคุณนั้นแม่นพอ
7. ดัดขนตาและปัดมาสคาร่า 
การปัดมาสคาร่าให้ขนตาดูสวย งอนงามเป็นแผงนั้นควรจะทำควบคู่ไปกับการดัดขนตา และควรจะเลือกมาสคาร่าชนิดกันน้ำ เพื่อจะได้ไม่เลอะเทอะ หรือจะเลือกมาสคาร่าชนิดใสก็ได้ หากต้องการให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

8. บลัชออน

เช่นเดียวกับอายแชโดว์ บลัชออนมีทั้งชนิดฝุ่น ครีมหรือน้ำ วิธีการทาบลัชออนให้สวยก็คือ ควรจะยิ้มเต็มที่เวลาที่ทา แล้วลงมือแต้มบลัชออนตรงพวงแก้มที่เปล่งที่สุด แล้วไล้เฉียงสูงขึ้นไปเล็กน้อยจนจรดตีนผม และหากคุณเลือกใช้บลัชอนชนิดฝุ่นก็ควรจะใช้คู่กับแปรงปัดแก้มปลายกลมค่อน ข้างใหญ่ จะปัดได้ดูสวยงามกลมกลืนกว่าแปรงปัดแก้มอันเล็กที่มาคู่กับบลัชออนในตลับ

9. เขียนขอบปาก 

สีดินสอเขียนขอบปากควรจะเป็นสีที่เข้ากันได้ดีกับสีลิปสติก การเขียนขอบปากจะทำให้ทาลิปสติกได้สวยขึ้นเพราะริมฝีปากจะดูได้รูปมากขึ้น หรือถ้าหาดินสอเขียนขอบปากมีสีเข้ากันกับลิปสติกไม่ได้ ก็ควรจะเลือกใช้ดินสอเขียนขอบปากที่มีสีใกล้เคียงกับริมฝีปากของคุณที่สุด
เพื่อความกลมกลืนไม่หลอกตา

10. ลิปสติก

เพื่อให้ได้ผลดี ควรทาลิปสติกด้วยพู่กันมากกว่าการใช้แท่งลิปสติกทาลงบนริมฝีปากเลย เพราะการใช้พู่กันจะทำให้สีของลิปสติกกลืนเข้ากับริมฝีปากได้ดีขึ้น เก็บรายละเอียดได้มากขึ้น เมื่อทาแล้วจึงค่อยเพิ่มความมันวาวด้วยลิปกลอส หากต้องการให้ปากแลดูชุ่มฉ่ำ แต่ก็ควรระวังไม่ให้มากหรือหนักมือเกินไป เดี๋ยวจะกลายเป็นปากมันเยิ้มแทน

ที่มาจาก : www.ladymodern.com

อ่านนิทานให้เด็กฟังก่อนนอน…เสริมสร้างทักษะที่ดี

การอ่านนิทานภาพให้ลูกฟัง ถือเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเจ้าตัวน้อยทางอ้อม


พัฒนาการด้านใดบ้าง “ปองกมล” อธิบายไว้ในคอลัมน์ “Bookstart” นิตยสาร “Mother & Care” ดังนี้
1.ด้านภาษา ถ้าเป็นเด็กวัยขวบปีแรก การที่เด็กได้ฟังนิทานจะเป็นการสะสม “คลังคำศัพท์” ในสมองโดยไม่รู้ตัว ส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูด ส่วนเด็กวัยอนุบาลขึ้นไปจะมีพัฒนาการทางภาษา ใช้ภาษาสละสลวย อ่านหนังสือเร็วและแตกฉานกว่าเด็กที่ไม่เคยผ่านการฟังนิทานมาก่อน
2.จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญในการส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ดี จะมาจากการที่พ่อแม่อ่านไป ถามไป เช่น ถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าเนื้อหาของเรื่องเปลี่ยนไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเป็นเขา (เด็ก) จะแก้สถานการณ์อย่างไร ฯลฯ
3.รสนิยมด้านศิลปะและความงาม นิทานภาพสำหรับเด็กที่มีชื่อเสียง ส่วนใหญ่จะมีภาพประกอบสวยงาม ใช้โทนสีอบอุ่น องค์ประกอบภาพงดงามลงตัว การที่เด็กได้ดูภาพ ได้ฟัง ได้อ่านหนังสือที่มีภาพประกอบสวยงามเป็นประจำจะทำให้ซึมซับเรื่องของ สุนทรียะและความงามโดยไม่รู้ตัว หากส่งเสริมให้ลูกมีกิจกรรมศิลปะก็จะเป็นการส่งเสริมทักษะด้านศิลปะให้เด็ก
4.บริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ การเปิดหนังสือทีละหน้าๆ สำหรับเด็กวัยสองขวบปีแรก เป็นการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็ก ถ้าหมั่นหากิจกรรมต่อยอดจากนิทานก็จะยิ่งทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก (นิ้วมือ) และมัดใหญ่มากขึ้น
5.การคิดวิเคราะห์/คิดเชื่อมโยง ทักษะข้อนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากว่าในระหว่างที่เล่านิทานไม่ได้ตั้งคำถามให้เด็กคิด หรือให้เด็กแต่งตอนจบขึ้นมาใหม่ก็ได้
6.ทักษะด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์ ทักษะสองอย่างนี้อยู่ที่การทำกิจกรรมเป็นหลัก อย่างเช่น ถ้าชวนเจ้าตัวเล็กทำขนมไข่เหมือนกุริกุระ การชั่ง ตวง วัด หรือให้เด็กนับชิ้นขนมที่ทำเสร็จเป็นการฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ตอนทอดแป้งให้เด็กสังเกตความร้อนที่ทำให้ขนมสุกเป็นการสอนวิทยาศาสตร์
7.ทักษะการสังเกต นิทานภาพสำหรับเด็กส่วนใหญ่มักจะมีภาพสัตว์ตัวเล็กๆ แอบอยู่มุมใดมุมหนึ่งของหนังสือ ลองทำเป็นเกมเล่นแข่งขันกันหาสัตว์ต่างๆ เหล่านี้ดู
8.ฝึกความจำ แกล้งอ่านผิด อ่านข้าม อ่านเพี้ยน เด็กจะทักขึ้นมาทันที หรือว่าเปลี่ยนให้เด็กลองเล่าเรื่องดูบ้าง แล้วเราจะได้เห็นความมหัศจรรย์ความจำของเด็ก
อย่าเพิ่งเชื่อจนกว่าจะได้ลองอ่านนิทานให้เจ้าตัวเล็กฟังทุกคืนก่อนนอน
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าวคุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสดและ http://variety.teenee.com/foodforbrain/12157.html

การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

การดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
ระหว่างการตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้องในระยะ เดือนแรก ในเวลาตื่นนอนจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน มึนศรีษะ บางคนอาจจะมีอาการแพ้มากกว่าปรกติ คุณแม่มือใหม่ก้ควรหาน้ำผลไม้ดื่มและมีอะไรรองท้องสักนิด จะเป็นขนมปังกรอบก็ได้หรือบางคนอาจจะได้กลิ่นอาการก็จะเหม็น ในอาหารที่มีกลิ่นฉุนจัด
แต่ยังไงคุณแม่มือใหม่ก็สามารถทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวได้ในเวลาตั้งครรภ์ส่วนนึงก็จะมีอาการของการปวดหลัง ร้าวไปถึงต้นขา ก็ควรเลี่ยงในการยกของหนักเกินไป หรือเลี่ยงการยืนนาน ๆ และคุณแม่มือใหม่เวลาตั้งครรภ์จะทำให้ข้อ และกระดูกความแข็งแรงจะลดน้อยลงเวลานอน
ก็ควรนอนในพื้นที่เรียบๆ หรือใช้หมอนหนุนหลังเวลาที่จะนั่ง หรือเวลาที่ต้องการหยิบของก็ควรนั่งหยิบแทน และก็ไม่ควาใส่รองเท้าส้นสูง ควรมีการผ่อนคลายด้วยการนวดเบา ๆ ก็จะเป็นการดีนะจ๊ะ
http://www.variousshop.com/

ระวังอย่าเอาโทรศัพท์มือถือวางทับบัตรเอทีเอ็ม


ขอแจ้งเตือนเพื่อนสมาชิกนะครับว่า อย่าเอาโทรศัพท์มือถือวางทับบนบัตรเอทีเอ็ม

เพราะคลื่นแม่เหล็กที่โทรศัพท์มือถือปล่อยออกมานั้นจะทำลายข้อมูลที่เก็บอยู่บนแถบเม่เหล็กของบัตรเอทีเอ็ม ทำให้ใช้การไม่ได้ทันที อันเนื่องจากประสบการณ์ด้วยตนเองเมื่อคืนนี้
หลังจากที่ผมไปกดเงินจากตู้เอทีเอ็มแล้วเครื่องแจ้งว่ามีแต่ธนบัตรใบละ 100 ซึ่งจะจ่ายได้เพียง 20ฉบับ ผมก้อโอเครับเอาออกมาไว้ก่อน แต่เนื่องจากต้องกดเป็นหมื่นจึงไปหาเครื่องอื่นโดยวางไว้คอนโซลข้างเกียร์
และหยิบเอาโทรศัพท์มือถือที่เสียบอยู่กระเป๋าหลังออกมาวางทับ ซึ่งปกติไม่เคยทำอย่างนี้ แต่วันนี้ต้องการเอาบัตรไปกดที่อื่นต่อจึงไม่เก็บเข้ากระเป๋าในทันที แต่พอใช้ที่เครื่องอื่นๆก้อแจ้งว่าใส่บัตรผิด ลองถึงสี่ตู้ก้อแจ้งเหมือนกัน จนกระทั่งย้อนกลับไปตู้แรกที่มี่แต่ฉบับละ 100 ก้อไม่ได้เหมือนกัน
http://atcloud.com/stories/24377

เคล็ดลับมือถือยามฉุกเฉินที่ไม่ค่อยมีใครรู้ แต่มีประโยชน์มาก

มือถือ …เชื่อว่าทุกคนต้องมีกันแน่ ๆ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงเคล็ดลับในมือถือ 

1. หมายเลขสากลฉุกเฉิน 112 ใช้ได้ทั่วโลกถ้าเกิดหลงไปอยู่ในเขตที่ไม่มีสัญญาณ และเกิดมีเหตุด่วนเหตุร้ายให้ กด 112 แล้วมันจะหาเบอร์ให้อัตโนมัติแม้แต่ล็อคปุ่มก็ยังกดเบอร์นี้ได้
2. ใช้ในกรณีที่ลืมกุญแจไว้ในรถ – สำหรับรถที่ใช้ Remote Keyถ้ารถล็อคไปแล้ว แต่ดันมีกุญแจสำรองอยู่ที่บ้าน ให้โทรไปหาคนที่อยู่ที่บ้านด้วยมือถือ (ต้องโทรไปหาเบอร์มือถือของเขาด้วย) เมื่อเขารับแล้วให้บอกเขา ให้กดปุ่ม unlock บนกุญแจสำรอง แต่ในขณะนั้นควรนำมือถือให้ห่างจากประตูรถประมาณ 1 ฟุต (ส่วนคนที่อยู่บ้านต้องนำกุญแจมาจ่อใกล้กับมือถือของเขาในขณะที่กดปุ่มด้วย) ประตูรถก็จะเปิดออกเหมือนกดปุ่มรีโมท ส่วนเรื่องระยะทางไม่มีปัญหา แม้รถกับบ้านจะอยู่ห่างกันเป็นร้อย ๆ กม. ก็ตาม
3. กรณีแบตใกล้จะหมด กด *3370# สำหรับมือถือ Nokiaถ้าเกิดแบตเหลือน้อยเต็มทีจนใกล้ดับ แต่จำเป็นต้องโทรออกให้กด *3370# มันจะรีดพลังสำรองที่ซ่อนออกมา แล้วแสดงให้เห็นว่า เพิ่มพลังแบตให้ขึ้นมาอีก 50% และมันจะชดเชยส่วนสำรองนี้ในการชาร์จแบตครั้งต่อไป
4. ถ้าโทรศัพท์หายต้องการทำให้ใช้ไม่ได้ตลอดไปในกรณีนี้ต้องใช้ หมายเลข serial number ประจำเครื่อง ซึ่งมี 15-17 หน่วย การที่จะทราบหมายเลขนี้ก็ไม่ยาก กด *#06# แล้วหมายเลขประจำเครื่องก็จะขึ้นมาให้เห็นทันทีเหมือนเล่นกล จดไว้แล้วเก็บไว้ให้ดี…ที่นี้ถ้ามือถือหายหรือตกหล่นให้โทรไปที่ศูนย์แล้ว แจ้งหมายเลขให้เขาไปเขาก็จะบล็อกเครื่องของเราให้ แล้วทีนี้มือถือที่หายไปจะใช้ไม่ได้อีกเลย ถึงแม้ว่าคนขโมยไปจะเปลี่ยน sim card มันก็จะยังใช้ไม่ได้อยู่ดี
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมจำและนำไปใช้กันได้
ที่มาจาก:http://www.esanmobile.com/topic/detail.php?g_id=2&sg_id=3&t_id=0800000218

วิธีการเมื่อมือถือหาย ….ให้คนขโมยใช้ไม่ได้ และขายไม่ได้


ในกรณีนี้เราต้องใช้ หมายเลข serial number ประจำเครื่อง ซึ่งมี 15- 17 หน่วย การที่จะทราบหมายเลขนี้ก็ไม่ยากครับ กด * #06# แล้วหมายเลขประจำเครื่องก็จะขึ้นมาให้เห็นทันทีเหมือนเล่นกล จดไว้ครับแล้วเก็บไว้ให้ดี…. 
ที่นี้ถ้ามือถือหายหรือตกหล่นให้โทรไปที่ศูนย์แล้วแจ้งหมายเลขให้เขาไปเขาก็จะบล็อคเ ครื่องของเราให้แล้วทีนี้มือถือที่หายไปจะใช้ไม่ได้อีกเลย ถึงแม้ว่าคนขโมยไปจะเปลี่ยน sim card มันก็จะยัง ใช้ไม่ได้อยู่ดีได้อย่างเดียวคือไว้เขวี้ยงหัวหมาหรือหลังคาคนอื่น (อาจจะหลอกไปขายต่อได้..ถ้าคนซื้อต่อเขาไม่รู้….)
http://atcloud.com/stories/24576

การแสดงเจตนาของนิติบุคคล

นิติบุคคล มิใช่บุคคลตามธรรมชาติ แต่เป็นบุคคลตามกฎหมาย กล่าวคือ นิติบุคคลหมายถึงคณะบุคคล หรือกองทรัพย์สินซึ่งกฎหมายยอมรับให้มีสิทธิและหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา เพียงแต่ว่าสิทธิและหน้าที่ใดซึ่งโดยสภาพแล้วจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแต่ บุคคลธรรมดาเท่านั้น สิทธิและหน้าที่นั้นนิติบุคคลจะมีมิได้ เช่นสิทธิในการสมรส หรือหน้าที่ในการรับราชการทหาร สภาพไม่เปิดช่องให้นิติบุคคลมีได้ นิติบุคคลจึงจะสมรสหรือรับราชการทหารมิได้ แต่ถ้าสิทธิหรือหน้าที่ใด ที่ไม่ขัดต่อสภาพของนิติบุคคล เช่น สิทธิในการทำสัญญา สิทธิในการฟ้องร้อง หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายทั่วไป นิติบุคคลย่อมมีได้ 


ฉะนั้นถ้านิติบุคคลกระทำผิดตามกฎหมายทางอาญาก็อาจจะต้องรับโทษได้ เพียงแต่ว่าโทษที่จะลงนั้น จะจำคุกหรือประหารชีวิตมิได้เท่านั้น อย่างไรก็ตามโดยที่นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายรับรอง หรืออนุญาตให้เป็นบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่เกิดตามธรรมชาติ ดังนั้นนิติบุคคลเกิดหรือมีขั้นได้ก็โดยอาศัยอำนาจของประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หรือโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่จัดตั้งมหาวิทยาลัย เป็นต้น เมื่อนิติบุคคลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจเช่นนี้ สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นอกจากจะต้องไม่เป็นสิทธิและหน้าที่ ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาดังกล่าวมาข้างต้นแล้วเท่า นั้น สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลยังจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ให้อำนาจ จัดตั้งเป็นนิติบุคคล และภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของนิติบุคคลดังที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลนั้น ๆ อีกด้วย เช่น บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นเพื่อการค้าขาย ย่อมไม่มีสิทธิและหน้าที่นอกเหนือไปถึงกิจการอื่นที่มิใช่การค้าขาย เช่นจะทำกิจการให้กู้ยืมเงินมิได้เป็นต้น

        นิติบุคคล เมื่อเกิดหรือมีขึ้นแล้ว ย่อมมีฐานะเป็นบุคคลต่างหากจากบุคคลธรรมดา แม้ว่าบุคคลธรรมดานั้น จะรวมกันได้รับอำนาจจากกฎหมายให้เป็นนิติบุคคลนั้น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้จะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ 1233/2505 ซึ่งวินิจฉัยว่า ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้วัด โดยเจ้าอาวาสลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมด้วย หาทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล ย่อมเป็นอีกบุคคลหนึ่งต่างหากจากเจ้าอาวาส แม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้แทนของวัด และความประสงค์ของนิติบุคคลแสดงปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลก็ดี ก็ไม่มีผลทางกฎหมายให้เจ้าอาวาสกับวัดรวมเป็นบุคคลเดียวกัน ไม่ถือว่าวัดเป็นพยานในพินัยกรรม

        นิติบุคคลส่วนใหญ่เกิดขึ้น โดยอาศัยอำนาจของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งตามมาตรา 72 ได้แก่ ทบวงการเมือง วัดวาอาราม ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิได้รับอำนาจแล้ว

        ทบวงการเมืองนั้น มาตรา 73 อธิบายว่าได้แก่ กระทรวงและกรมในรัฐบาลเทศาภิบาลปกครองท้องที่และประชาบาลทั้งหลาย ตามมาตรา 73 นี้ คำว่ากระทรวงและกรมในรัฐบาลย่อมหมายความถึงกระทรวงและกรมโดยเฉพาะเท่านั้น ไม่กินความถึงรัฐบาลด้วย ทั้งนี้จะเห็นได้จากคำพิพากษาฎีกาที่ 724/2490 ซึ่งวินิจฉัยว่า รัฐบาลมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย จึงเป็นคู่ความมิได้ คำว่าเทศาภิบาลปกครองท้องที่ย่อมกินความถึงผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 544/2475) แต่ไม่กินความถึงคณะกรรมการจังหวัดและคณะกรรมการอำเภอ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1061/2497) คำว่าประชาบาล ย่อมหมายถึงเทศบาลด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 538/2493)

        โดยที่นิติบุคคล มิใช่บุคคลธรรมดา เป็นเพียงคณะบุคคล หรือกองทรัพย์สินเท่านั้น ฉะนั้น จึงแสดงเจตนาหรือแสดงความประสงค์ด้วยตนเองดังเช่นบุคคลธรรมดามิได้ แต่เมื่อกฎหมายยอมให้มีสิทธิและหน้าที่ได้เหมือนบุคคลธรรมดาดังกล่าวมาแล้ว ในตอนต้น กฎหมายจึงต้องบัญญัติให้มีผู้แสดงความประสงค์ หรือแสดงเจตนาแทนนิติบุคตลเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิและหน้าที่ของ นิติบุคคลนั้น ๆ กฎหมายที่ว่าคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติว่า “อันความประสงค์ของนิติบุคคลนั้น ย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้น”

        คำว่า “ผู้แทน” นี้ต่างจากคำว่า “ตัวแทน” ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 เพราะคำว่า “ผู้แทน” ตามมาตรา 75 เป็นผู้ที่แสดงความประสงค์ของนิติบุคคล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ นิติบุคคลจะแสดงความประสงค์ จะใช้สิทธิหรือหน้าที่มิได้ หากไม่มีผู้แทน แต่ “ตัวแทน” นั้น เป็นบุคคลผู้มีอำนาจทำการอย่างหนึ่งอย่างใด แทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือตัวการโดยลำพังเองก็แสดงเจตนาแสดงความประสงค์ เพื่อใช้สิทธิหรือหน้าที่ได้อยู่แล้ว แต่ถ้าตัวการไม่ประสงค์จะทำการใด หรือแสดงความประสงค์ใดด้วยตนเอง ก็ตั้งตัวแทนให้ทำการนั้น ๆ หรือแสดงความประสงค์นั้น ๆ แทนตน ฉะนั้น ถ้านิติบุคคลจะทำการใดด้วยตนเองก็กระทำโดยผู้แทน ถ้าไม่ประสงค์จะทำเอง ก็มอบอำนาจหรือตั้งบุคคลอื่นเป็นตัวแทนทำการแทนตน และการมอบอำนาจหรือตั้งตัวแทนนั้น นิติบุคคลก็ต้องแสดงเจตนามอบอำนาจ หรือตั้งตัวแทนโดยทางผู้แทนของนิติบุคคลอยู่นั่นเอง เกี่ยวกับผู้แทนและตัวแทนนี้ได้มี คำพิพากษาฎีกาที่ 1808/2494 อธิบายไว้ดังนี้ เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุให้อำนาจกรรมการ 2 คน ทำนิติกรรมแทนบริษัทได้ ฉะนั้น กรรมการ 2 คน จึงมีอำนาจเป็นผู้แทนบริษัทในการฟ้องคดีได้ กรณีเช่นนี้กรรมการ 2 คน นั้นได้ชื่อว่าผู้แทน (representative) ของบริาทตามมาตรา 75 มิใช่ตัวแทน (agent) ตามมาตรา 801

        เกี่ยวกับตัวแทนนั้น เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวแทนมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น ตัวแทนโดยแต่งตั้งแสดงออกชัด และตัวแทนโดยปริยาย (มาตรา 797) ตัวแทนเชิด (มาตรา 821, 822) และตัวแทนโดยการให้สัตยาบัน (มาตรา 823) ดังนั้นหากเป็นการตั้งตัวแทนประเภทแสดงออกชัด หรือประเภทให้สัตยาบันของนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นก็จะต้องแสดงความประสงค์ในการแต่งตั้ง หรือให้สัตยาบันตัวแทน โดยทางผู้แทนของนิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 75 แต่ถ้าเป็นตัวแทนโดยปริยาย หรือตัวแทนเชิด การแต่งตั้งตัวแทนก็ไม่จำเป็นต้องมี ฉะนั้นนิติบุคคลอาจมีตัวแทนโดยปริยาย หรือตัวแทนเชิดได้โดยไม่ต้องแสดงความประสงค์โดยอาศัยผู้แทนตามมาตรา 75 แต่ประการใด และตัวแทนโดยปริยายของนิติบุคคลนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากผู้แทนของนิติบุคคลนั่นเอง แต่เป็นผู้แทนที่ไม่ถูกตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง เช่น ตามข้อบังคับของบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีว่า ผู้ที่จะมีอำนาจทำการใดในนามของบริษัทจำกัดได้ ต้องเป็นกรรมการของบริษัท 2 คน และต้องประทับตราของบริษัทด้วย หากกรรมการเพียงผู้เดียว ทำการไปในนามบริษัท หรือกรรมการ 2 คน ทำการไปแต่มิได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วยเช่นนี้ ก็ไม่ถือว่า กรรมการดังกล่าวนั้นทำการในฐานะเป็นผู้แทนตามมาตรา 75 ของบริาทแต่ก็อาจถือได้ว่าทำการในฐานะเป็นตัวแทนโดยปริยายบริษัทได้ และผลก็คือการที่กระทำไปนั้นผูกพันบริษัทเช่นเดียวกับกระทำโดยผู้แทนดุจกัน มีตัวอย่างเรื่องนี้ตามคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้

        คำพิพากษาฎีกาที่ 955/2510 หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลงชื่อในสัญญาโดยมิได้ประทับตราของห้าง หุ้นส่วน แต่ได้ความว่าในการทำสัญญาอื่น ๆ หุ้นส่วนผู้จัดการก็ปฏิบัติเช่นนี้ ต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนต้องรับผิดตามสัญญา แต่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
        คำพิพากษาฎีกาที่ 853/2512 นิติบุคคลเชิดบุคคลอื่นให้มีอำนาจทำการแทนตน เมื่อบุคคลนั้นทำสัญญาในนามนิติบุคคล สัญญานั้นย่อมผูกพันนิติบุคคล นิติบุคคลจะยกเอาข้อบังคับของนิติบุคคลนั้นมายันโจทก์หรือบุคคลภายนอกมิได้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 362/2512 กรรมการผู้จัดการของนิติบริษัทซึ่งเป็นบุคคล ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์กับจำเลย มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับ ถือว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยแล้ว (คำพิพากษาฎีกาที่ 782/2516 ก็วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1309/2515 ข้อบังคับของบริษัทมีว่า กรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทได้ แต่ต้องประทับตราบริษัท การที่บริษัทจ้างโจทก์โดยมิได้ประทับตราบริษัท แต่เมื่อบริษัทยอมรับเอาผลงานที่โจทก์ทำให้ จนมีการชำระค่าจ้างเรียบร้อยไปงวดหนึ่งแล้ว บริษัทจะปฏิเสธว่า สัญญาไม่มีผลผูกพันมิได้
        คำพิพากษาฎีกาที่ 1709/2516 ประธานกรรมการมูลนิธิลงนามในหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่า โดยไม่มีกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงนามให้ครบถ้วน แม้จะถือว่ามิได้ทำในนามผู้แทนมูลนิธิ แต่เห็นได้ว่าทำในฐานะตัวแทนของมูลนิธิ ทั้งมูลนิธิก็รับเอาผลนิติกรรมนั้น จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการเลิกสัญญาเช่ามิได้

        ตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว นอกจากคำพิพากษาฎีกาที่ 1709/2516 เท่านั้น ที่ให้เหตุผลว่า นิติบุคคลย่อมผูกพันตามการกระทำของผู้ทำแทนในฐานะผู้ทำแทนเป็นตัวแทนคำ พิพากษาฎีกา นอกนั้นมิได้ให้เหตุผลเลยว่าเหตุใดนิติบุคคลจึงต้องผูกพัน ในการกระทำของผู้ทำแทนนิติบุคคลนั้น ในเมื่อผู้ทำแทนนั้นมิใช่ผู้แทนของนิติบุคคลโดยชอบด้วยข้อบังคับ และกฎหมาย แต่แม้คำพิพากษาฎีกาเหล่านั้นจะมิได้ให้เหตุผลไว้ก็ตาม หลักกฎหมายที่ถือว่า นิติบุคคลจะต้องผูกพันในการกระทำของบุคคลผู้ทำแทนนั้น ก็ต้องอาศัยหลักตัวแทนดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้นเอง

        แต่ถ้ากรณีใดไม่สามารถจะอ้างความเป็นตัวแทนโดยปริยาย หรือตัวแทนเชิดได้แล้ว การกระทำของผู้ทำแทนนิติบุคคล (มิใช่ผู้แทนของนิติบุคคล ตามมาตรา 75) ย่อมไม่ผูกพันนิติบุคคล ทั้งนี้จะเห็นได้จาก คำพิพากษาฎีกาที่ 407/2501 ซึ่งวินิจฉัยว่า ข้อบังคับของบริษัทมีว่า “คณะ กรรมการมีอำนาจตั้งตัวแทน กำหนดอำนาจตัวแทนได้ตามที่เห็นสมควร และให้คณะกรรมการเป็นโจทก์จำเลยในคดีแพ่งหรืออาญา โดยกรรมการ 2 นาย มีอำนาจลงนามและประทับตรา และให้คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการของบริษัท โดยความควบคุมของที่ประชุมใหญ่” เมื่อคณะกรรมการยังไม่ได้มอบอำนาจให้ผู้จัดการฟ้องคดี ผู้จัดการจะอ้างนามบริษัทฟ้องมิได้

        โดยที่นิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ได้เช่นเดียวกับบุคคล ธรรมดา ฉะนั้น นิติบุคคลจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และการฟ้องคดีก็ถือเป็นการแสดงความประสงค์อย่างหนึ่งของนิติบุคคล ฉะนั้น จึงต้องให้ผู้แทนของนิติบุคคลตามมาตรา 75 เป็นผู้ดำเนินคดีในนามของนิติบุคคล เช่น คำพิพากษาฎีกาที่ 944 – 945 /2497 วินิจฉัยว่า เจ้าอาวาสมีอำนาจมอบฉันทะให้ไวยาวัจกรฟ้องผู้บุกรุกที่ธรณีสงฆ์ของวัดได้ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ คำพิพากษาฎีกาที่ 538/2493 วินิจฉัยว่า นายกเทศมนตรีมีอำนาจฟ้องคดีซึ่งเทศบาลเป็นโจทก์ และลงชื่อแต่งทนายได้

        นอกจากนิติบุคคลจะดำเนินคดีเองโดยทางผู้แทนดังกล่าวแล้ว นิติบุคคลอาจมอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้จะเห็นได้จาก คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2502 ซึ่งวินิจฉัยว่านิติบุคคลมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ได้ และคำพิพากษาฎีกาที่ 787 – 788 /2506 วินิจฉัยว่า ผู้เสียหายไม่ว่าเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ย่อมมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอาญาผู้แทนได้

        โดยที่นิติบุคคลมีฐานะต่างหากจากบุคคลธรรมดา หรือต่างหากจากผู้แทนของนิติบุคคล ฉะนั้น เมื่อนิติบุคคลดำเนินคดีในศาลโดยทางผู้แทนก็ดี หรือโดยทางผู้รับมอบอำนาจก็ดี หากต่อมาผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจตาย นิติบุคคลนั้นก็คงมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้ เพราะถือว่านิติบุคคลนั้นยังคงเป็นคู่ความอยู่มิได้ตายไปด้วย (คำ พิพากษาฎีกาที่ 480/2502 วัดมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องคดี ต่อมาไวยาวัจกรตาย ก็ไม่ทำให้ใบแต่งทนายที่ไวยาวัจกรลงชื่อไว้สิ้นสุดไปด้วย ทนายคงดำเนินคดีต่อไปได้ เพราะถือว่าทนายความยังเป็นทนายความของโจทก์อยู่ คำพิพากษาฎีกาที่ 678/2512 เมื่อผู้แทนของนิติบุคคลตาย นิติบุคคลก็ยังคงดำเนินคดีต่อไปได้)

        เมื่อนิติบุคคลมีสิทธิเป็นโจทก์ได้ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา นิติบุคคลจึงย่อมมีความรับผิดในทางแพ่งและทางอาญาได้เช่นกัน สำหรับความผิดในทางแพ่งนั้น นิติบุคคลจะต้องรับผิดก็เฉพาะแต่เมื่อการกระทำของนิติบุคคลนั้น อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลนั้น ๆ และภายใต้บังคับของกฎหมายที่ใให้อำนาจจัดตั้งนิติบุคคลนั้นด้วย หากการใดได้กระทำไปนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ นิติบุคคลย่อมไม่ต้องรับผิด แต่ผู้ที่กระทำการนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้แทนหรือบุคคลอื่นอาจต้องรับผิดเป็นส่วนตัวได้ แต่สำหรับความผิดในทางอาญานั้น นิติบุคคลจะต้องรับผิดก็แต่เฉพาะความผิดที่สภาพของความผิดเปิดช่องให้ลงโทษ แก่นิติบุคคลได้ เช่น ความผิดที่มีโทษปรับ หรือริบทรัพย์เป็นต้น หากความผิดใดมีโทษประหารชีวิต หรือจำคุกแต่สถานเดียว นิติบุคคลย่อมไม่อาจจะมีความรับผิดในความผิดเช่นนั้นได้ หรือความผิดใดโดยสภาพจะพึงกระทำผิดได้ เฉพาะแต่บุคคลธรรมดาเท่านั้น เช่นความผิดฐานลักทรัพย์ เบิกความเท็จ นิติบุคคลก็ไม่ต้องรับผิดเช่นกัน นอกจากนี้แม้กรณีจะเข้าหลักเกณฑ์นิติบุคคล อาจต้องรับผิดในทางอาญาได้ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ตาม แต่นิติบุคคลจะรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อการกระทำผิดนั้นได้กระทำ (โดยผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75) ไปในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล และนิติบุคคลนั้นได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้นด้วย ทั้งนี้จะเห็นจากคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้

        คำพิพากษาฎีกาที่ 787 - 788 / 2506 เจตนาของนิติบุคคลย่อมแสดงออกทางผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อผู้แทนของนิติบุคคลแสดงเจตนาอันใด ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้แทนในทางการของการดำเนินกิจการตามวัตถุที่ ประสงค์ของนิติบุคคล เจตนานั้นก็ผูกพันนิติบุคคล และถือเป็นเจตนาของนิติบุคคลนั่นเอง ฉะนั้น นิติบุคคลจึงอาจมีเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญา และการกระทำความผิดซึ่งผู้กระทำต้องมีเจตนารวมทั้งโทษทางอาญาเท่าที่ลักษณะ แห่งโทษเปิดช่องให้ลงแก่นิติบุคคลได้ ซึ่งทั้งนี้ต้องพิจารราตามลักษณะความผิด พฤติการณ์แห่งการกระทำและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคล ประกอบกับวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลเป็นราย ๆ ไป (คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น)

        คำพิพากษาฎีกาที่ 1669/2506 บริษัทนิติบุคคลแม้ไม่สามารถทำการทุกอย่างได้เช่นบุคคลธรรมดา แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นไปตามความประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้นแล้ว ย่อมมีเจตนาในการทำผิดทางอาญาได้ (คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการปลอมและใช้เอกสารปลอมในการส่งแร่ไปต่างประเทศ)

        คำพิพากษาฎีกาที่ 59/2507 นิติบุคคลย่อมแสดงความประสงค์ทางผู้แทน เมื่อผู้แทนออกเช็คโดยเจตนาจะมิให้มีการใช้เงินตามเช็ค นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดร่วมกับผู้แทนด้วย
        คำพิพากษาฎีกาที่ 584/2508 นิติบุคคลอาจรับผิดทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการของนิติบุคคลได้ ถ้าการทำผิดอาญานั้น กรรมการดำเนินงานไปเกี่ยวกับกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลที่ได้จด ทะเบียนไว้ และเพื่อให้นิติบุคคลนั้นได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้น

        มีข้อสังเกต ในการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลย เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลยเท่านั้นก็พอ หาจำเป็นต้องระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลไว้ด้วยไม่ ทั้งนี้ตามนัย คำพิพากษาฎีกาที่ 1525/2495 ซึ่งวินิจฉัยว่า การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลย เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย แม้คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้จะวินิจฉัยแต่เฉพาะการฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลย แต่ก็ย่อมจะนำหลักนี้ไปใช้กับการที่นิติบุคคลเป็นโจทก์ฟ้องได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นโจทก์เท่านั้นก็พอ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมักจะมีการระบุชื่อผู้แทนของนิติบุคคลไว้ด้วยเสมอ

        ก่อนจบ ขอย้ำว่าผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 นั้น หมายถึงผู้แทนผู้มีอำนาจตามกฎหมายที่ก่อตั้งนิติบุคคล หรือตามข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคล ในอันที่จะจัดการดูแล หรือทำการใด ๆ ให้มีผลผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ ได้ เช่น รัฐมนตรีเป็นผู้แทนของกระทรวง อธิบดีเป็นผู้แทนของกรม ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนของจังหวัด นายกเทสมนตรีเป็นผู้แทนของเทศบาล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด ผู้จัดการหรือกรรมการตามข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน หรือตามข้อบังคับของบริษัทจำกัด เป็นผู้แทนของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน หรือบริษัทจำกัด ผู้ที่ได้รับมอบหมายตามข้อบังคับของสมาคมให้เป็นผู้จัดการสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคม และผู้จัดการมูลนิธิเป็นผู้แทนของมูลนิธิ เป็นต้น และก็อย่าลืมว่า ผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 นั้น ต่างกับตัวแทนตามมาตรา 797 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อย่างมากมาย และไม่สามารถจะนำถ้อยคำไปใช้แทนกันได้เลย

การตีความเอกสาร

เอกสารที่คู่ความอ้างเป็นพยานในศาลนั้น บางฉบับอาจจะทำความหนักใจให้แก่ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอยู่บ้าง หากข้อความในเอกสารนั้นกำกวม ไม่ชัดเจน หรือมีความหมายหลายนัยจนไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าผู้ทำเอกสารนั้นมีความประสงค์ เช่นไร และการที่จะนำพยานบุคคลมาสืบอธิบายข้อความในเอกสารนั้นบางครั้งก็ไม่ อาจกระทำได้ เพราะหาตัวผู้ทำเอกสารไม่พบ หรือตัวผู้ทำเอกสารตายไปเสียก่อนแล้ว หรือหาตัวบุคคลที่จะมาอธิบายข้อความนั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของศาลเองที่จะต้องตีความว่าเอกสารนั้นมีความหมายเช่นไร


        การตีความหมายนั้นไม่ควรจะถือเอาตามความคิดเห็นโดยลำพังของ ผู้พิพากษาแต่ละท่าน แต่ควรอาศัยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามแนวคำพิพากษาที่ศาลสูงได้วางไว้เป็นหลัก ถ้าหลักเกณฑ์นั้นยังไม่เพียงพอ ก็ควรถือเอาหลักการตีความที่นักกฎหมายส่วนใหญ่ได้วางไว้เป็นแนวทางประกอบอีก ทางหนึ่งด้วย

        การตีความเอกสารนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องทำเสมอไป ศาลจะตีความก็ต่อเมื่อข้อความในเอกสารนั้นไม่ชัดเจน เคลือบคลุม กำกวม หรือมีความหมายเป็นหลายนัยดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าเอกสารใดมีข้อความชัดเจนอยู่แล้ว ก็หาจำต้องมีการตีความไม่

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นแม่บทใหญ่ในทางแพ่งได้วางหลักเกณฑ์การตีความเอกสารไว้ดังต่อไปนี้
        1. เมื่อข้อความใดอาจตีความได้เป็นสองนัย (หรือหลายนัย) นัยไหนที่จะมีผลบังคับได้ ก็ให้ตีความเอานัยนั้น ตัวอย่างเช่น เอกสารมีข้อความว่าจำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไป ข้อความเช่นนี้ยังไม่พอชัดว่าจำเลยได้รับเงินตามที่ยืม ไปแล้วหรือยัง แต่ถ้าจะตีความว่ายืมเงินไปโดยยังมิได้รับเงินนั้นไปก็ดูจะไม่มีผล เพราะผู้ที่ยืมเงินควรจะได้รับเงินไปแล้วจึงเขียนข้อความนั้นไว้ให้ ในกรณีเช่นนี้จึงควรตีความว่า จำเลยได้รับเงินที่ยืมนั้นแล้ว เพราะเป็นการตีความตามนัยที่มีผลกว่า

        การตีความเพื่อให้เป็นผลบังคับได้นี้ ในบางกรณีอาจจะต้องพิจารณาถึงวิธีปฏิบัติซึ่งคู่สัญญาได้ทำต่อกันตลอดมาเป็น เครื่องประกอบด้วย เช่นสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า “การค้ำประกันนี้มีผลใช้สำหรับระหว่างเวลา 2 เดือนนับตั้งแต่วันที่ลงในสัญญาค้ำประกันนี้เป็นต้นไป” ปรากฏว่าโจทก์และลูกหนี้ (จำเลยที่ 1) มีการค้าน้ำมันต่อกันโดยวิธีเปิดบัญชีเจ้าหนี้ลูกหนี้ และคิดเอาจำนวนสินค้าที่ลูกหนี้ได้รับหักกับเงินที่ชำระแล้ว และภาชนะที่ส่งคืนเป็นคราว ๆ ติดต่อกันไป ผู้ค้ำประกันเคยต้ำประกันมาแล้ว 2 ครั้ง โดยแต่ละครั้งระบุจำนวนน้ำมันกี่ถัง ภายในวงเงินเท่าใด ดังนี้ต้องวินิจฉัยว่าระยะเวลา 2 เดือนนั้นหมายถึงระยะ 2 เดือนที่ลูกหนี้รับน้ำมันไปจากโจทก์ ไม่ใช่ว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายใน 2 เดือนแล้ว ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้น

        2. เมื่อมีข้อสงสัยต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่าายที่จะต้องเป็น ผู้เสียในมูลหนี้ ตัวอย่าง เช่น จำเลยยืมเงินโจทก์ไปหลายคราว ๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท จำเลยที่ 2 – 3 – 4 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า “ด้วยนายจือซัน (จำเลยที่ 1) ยืมเงินของท่านไป 50 บาท เงินรายนี้เมื่อนายจือซันไม่นำต้นเงินมาส่งใช้ให้แก่ท่านตามกำหนดสัญญาด้วย ประการใด ผู้เป็นนายประกันยอมรับใช้เงินจำนวนนี้ให้ท่านจนครบ” ปัญหามีว่านายประกันจะต้องรับผิดในหนี้เพียง 50 บาท หรือ 500 บาท ที่นายจือซันยืมไปจากโจทก์ทั้งหมด ศาลฎีกาพิพากษาว่าต้องตีความว่า ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียง 50 บาท เท่านั้นเพราะเป็นผู้ที่จะต้องเสียในมูลหนี้
        สัญญาย่อมมีว่า โจทก์ยอมให้ที่พิพาทหมายเลข 3 กับที่พิพาทหมายเลข 1 กับที่หมายเลข 2 โจทก์จำเลยตกลงแบ่งกันคนละครึ่ง ต้องตีความว่าโจทก์ยกที่ดินหมายเลข 3 และ 1 ให้จำเลย แต่หมายเลข 2 ให้แบ่งคนละครึ่ง ไม่ใช่ให้แบ่งครึ่งทั้ง 3 แปลง
        ข้อความในเอกสารมีว่า “เงินรายมรดกมารดา ฯลฯ ขอสัญญาว่าจะไม่เกี่ยวข้องมรดกรายนี้” ต้องตีความว่าผู้ให้สัญญาไม่ขอเกี่ยวข้องเฉพาะมรดกที่เป็นเงินเท่านั้น ไม่รวมถึงมรดกที่เป็นที่ดินด้วย
        สัญญากู้กำหนดวันใช้เงินไว้ แต่มีสัญญาซื้อขายรถยนต์อีกฉบับหนึ่ง ระหว่างผู้ใดกู้และผู้กู้มีข้อความว่า เงินกู้รายนั้นให้ใช้คืนเมื่อผู้ให้กู้โอนทะเบียนรถให้ผู้กู้แล้ว 60 วัน ต้องตีความสัญญากู้และสัญญาซื้อขายประกอบกัน และต้องตีความว่าวันครบกำหนดที่ผู้กู้จะใช้เงินคืนวันครบ 60 วันนับตั้งแต่วันโอนทะเบียนรถ เพราะเป็นคุณแก่ผู้กู้

        3. ถ้าในเอกสารลงจำนวนไว้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร และตัวเลขกับตัวอักษรไม่ตรงกัน ทั้งไม่มีทางจะรู้ถึงเจตนาอันแท้จริงของผู้ทำเอกสารนั้นได้แล้ว ต้องตีความโดยถือเอาจำนวนที่เป็นตัวอักษรว่าถูกต้อง เช่นข้อความมีว่า “ตกลงขายรถยนต์ในราคา 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาท)” ดังนี้ ถ้าผู้ซื้อและผู้ขายเกิดโต้แย้งกัน และไม่มีพยานอื่นที่จะทำให้รู้ราคาขายที่แท้จริงได้ ต้องถือเอาจำนวนตามตัวอักษรเป็นสำคัญ

        4. ถ้าจำนวนในเอกสารมีแต่ตัวเลขอย่างเดียว หรือมีแต่ตัวอักษรอย่างเดียว แต่ตัวเลขหรือตัวอักษรนั้นเขียนไว้หลายแห่งและไม่ตรงกัน เมื่อศาลไม่มีทางรู้ถึงเจตนาอันแท้จริงของผู้ทำเอกสารได้ ต้องตีความตามจำนวนที่น้อยที่สุด เช่นสัญญาเช่ามีว่า “คิดค่าเช่าเดือนละ 500 บาท แต่ถ้าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าเดือนละ 500 บาท เมื่อใดถือว่าสัญญาเช่าระงับทันที” ดังนี้เมื่อไม่มีทางทราบว่าคู่สัญญาตกลงค่าเช่ากันเท่าใดแน่ ต้องถือเอาจำนวน 500 บาท ซึ่งเป็นจำนวนน้อยที่สุด

        5. ถ้าเอกสารทำขึ้นเป็นสองภาษา (หรือกว่านั้น) และภาษาหนึ่งเป็นภาษาไทย นอกนั้นเป็นภาษาอื่น แต่ข้อความในภาษาอื่นกับภาษาไทยไม่ตรงกัน และไม่มีทางจะรู้ว่าคู่สัญญาประสงค์จะให้ใช้ข้อความภาษาใดบังคับ ต้องถือเอาข้อความที่เป็นภาษาไทยบังคับ ถ้าปรากฏจากพยานหลักฐานอื่นหรือจากข้อความในเอกสารนั้นเองว่าคู่สัญญา ประสงค์จะให้ใช้ภาษาอื่นบังคับก็ต้องเป็นไปตามนั้น

        6. การตีความเอกสารนั้นต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของผู้ทำสัญญายิ่งกว่า ถ้อยคำตามตัวอักษร หลักเกณฑ์ข้อนี้นัยว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดในการตีความเอกสาร เพราะถ้ารู้ได้ว่าผู้ทำเอกสารมีเจตนาหรือมีความประสงค์เช่นไรในการใช้ถ้อยคำ หรือข้อความนั้น หากจะต้องมีการตีความก็ควรต้องตีความไปในทางที่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของผู้ทำ เอกสารนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามการค้นหาเจตนาของผู้ทำเอกสารนั้นจะต้องทำก็ต่อเมื่อข้อความ ที่ปรากฏนั้นไม่ชัดเจนพอ ถ้าข้อความนั้นชัดเจนแน่นอนอยู่แล้วก็ต้องถือตามข้อความนั้น จะอ้างว่าผู้ทำเอกสารมีเจตนาเป็นอย่างอื่นมิได้ เพราะมีหลักอยู่ว่าผู้พูดหรือผู้เขียนย่อมพูดหรือเขียนในสิ่งที่ตนประสงค์
        ตัวอย่างเช่น สัญญายอมความมีว่า “โจทก์ยอมให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปอีก 1 ห้อง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี” ปัญหามีว่าข้อความที่ว่า “ให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไป” นั้น จะหมายถึงให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยต่อไปหรือจะหมายถึงให้เช่า (เพื่อทำอะไรก็ได้) ต่อไปโดยคำว่าอยู่เป็นเพียงประกอบคำว่าต่อไปเท่านั้น ไม่ใช่ประกอบคำว่าเช่า ดังนี้ต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาของผู้ให้เช่าและผู้เช่าประกอบด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเปิดร้านขายน้ำมันและมีปั๊มน้ำมันมาก่อนแล้ว ต้องตีความว่า ผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่า เช่าเพื่อการค้าน้ำมันตามเดิมนั่นเองมิใช่เช่าเพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียว
        สัญญาเช่าเรือมีว่า ผู้เช่าต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในความเสียหายที่เกิดแก่เรือที่เช่า เว้นแต่การสึกหรอโดยปกติของการใช้นั้น ปรากฏว่าเรือนั้นได้จมเพราะคลื่นลมจัดอันเป็นเหตุสุดวิสัย จึงมีปัญหาว่าข้อความในสัญญานั้นจะกินความถึงความเสียหายทุกประการที่เกิด ขึ้น อันรวมทั้งความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยด้วยหรือไม่ โดยที่ข้อความในสัญญานั้นไม่มีข้อความใดนอกเหนือไปจากความรับผิดตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 526 ฉะนั้นจึงแสดงว่าผู้ให้เช่าไม่มีเจตนาจะให้ผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหาย ที่เกิดขึ้นทุกกรณี เมื่อความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัย ผู้เช่าจึงไม่ต้องรับผิด

        7. การตีความสัญญานั้นต้องตีความไปตามความประสงค์ของคู่สัญญาในทางสุจริตโดย ต้องพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เช่น ถ้าสัญญาขนส่งมิได้ระบุไว้ว่า ถ้าขนสินค้าไม่เสร็จภายในกำหนดจะต้องเสียค่าเสียเวลาหรือไม่ เมื่อมีปํญหาเกิดขึ้นและคู่สัญญานำสืบได้ว่าประเพณีการขนส่งมีว่าต้องขน สินค้าให้เสร็จใน 7 วัน ถ้าขนไม่เสร็จต้องคิดค่าเสียเวลา 3 วันแรก 50% เพิ่มขึ้นอีก และผู้จ้างกับผู้รับจ้างก็เข้าใจประเพณีนี้ดีอยู่แล้ว ดังนี้ต้องตีความสัญญานั้นว่ากรณีเช่นนี้ผู้จ้างต้องรับผิดตามประเพณีนั้น แต่ถ้าประเพณีนั้นคู่สัญญาอีกฝ่ายไม่ทราบจะนำประเพณีนั้นมาใช้นอกเหนือไปจาก ข้อความในสัญญามิได้

        8. ถ้าเอกสารนั้นเป็นพินัยกรรม และข้อความในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย ต้องตีความตามนัยที่จะให้ผลสมตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เช่น ผู้ทำพินัยกรรมมีภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรสอยู่ 2 คน คนหนึ่งได้เลิกร้างกันไปแล้ว อีกคนหนึ่งยังอยู่กินด้วยกัน และผู้ทำพินัยกรรมได้ทำพินัยกรรมขณะที่อยู่กินกับภริยาคนหลังนี้ว่า “เมื่อตายแล้วให้ทรัพย์สินทั้งหมดตกได้แก่ภริยาข้าพเจ้า” คำว่า ภริยานี้อาจจะหมายถึงภริยาทั้งสองของผู้ตายก็ได้ แต่โดยที่ผู้ตายทำพินัยกรรมขณะอยู่กินกับภริยาคนหลัง และภริยาคนแรกก็เลิกร้างไปแล้ว จึงต้องตีความว่าผู้ตายเจตนาจะทำพินัยกรรมให้ภริยาคนหลังนี้แต่ผู้เดียว

        9. ถ้าผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดคุณสมบัติไว้ และมีผู้ที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นหลายคน ถ้าไม่อาจจะหยั่งทราบเจตนาหรือความประสงค์อันแท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมได้ แล้ว ต้องตีความว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเช่นนั้นทุกคนมีส่วนได้ทรัพย์ตามพินัยกรรม เท่า ๆ กัน เช่น ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมให้แก่ “หลานข้าพเจ้าที่เป็นตำรวจ” ปรากฏว่าผู้ทำพินัยกรรมมีหลานที่เป็นตำรวจอยู่ 3 คน ดังนี้ต้องตีความว่าทั้งสามคนมีส่วนได้ทรัพย์เท่า ๆ กัน
        นอกจากหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวข้าง ต้นแล้ว ในกรณีที่เอกสารมิได้กล่าวถึงข้อความอย่างหนึ่งอย่างใดไว้ แต่มีกฎหมายบัญญัติข้อความที่มิได้กล่าวถึงนั้นไว้แทนแล้ว การตีความเอกสารนั้นก็ต้องนำข้อความที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้นไปเพิ่มเติมเข้า ด้วย
        เช่น สัญญากู้กำหนดไว้ว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยให้ แต่จำนวนเท่าใดมิได้เขียนไว้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ฉะนั้นจึงต้องคิดดอกเบี้ยให้ตามที่มาตรา 7 ได้บัญญัติไว้
        ทำสัญญาปลูกอาคารให้เสร็จใน 5 เดือน แต่มิได้ระบุไว้ว่าเดือนหนึ่งถือเอากี่วันเป็นเกณฑ์ ก็ต้องนำ มาตรา 159 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าระยะเวลานับเป็นสัปดาห์ก็ดี เดือนหรือปีก็ดี ท่านให้คำนวณตามปฏิทินในราชการ” มาใช้ กล่าวคือ 5 เดือนนั้น คือ 5 เดือนตามปฏิทิน
        ทำสัญญาซื้อขายที่ดินว่าจะไปจดทะเบียนการซื้อขายในวันที่ 1 คำว่าวันที่ 1 นั้น ต้องตีความว่าภายในเวลาราชการเท่านั้น เพราะเป็นการจดทะเบียนต่อสถานที่ราชการ ทั้งนี้โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 162 บัญญัติไว้ว่า ในทางความในทางราชการ และทางค้าขายนั้น วัน หมายความว่าเวลาทำงานตามปกติ
        ทำสัญญาซื้อข้าวสาร 100 กระสอบ มิได้ระบุว่าเป็นข้าวชนิดใด และไม่ปรากฏว่า ผู้ซื้อและผู้ขายเคยติดต่อซื้อขายข้าวกันมาก่อน ทั้งไม่อาจทราบเจตนาของผู้ซื้อได้ว่าประสงค์ข้าวชนิดใด ก็ต้องนำมาตรา 195 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ คือผู้ขายต้องส่งมอบข้าวชนิดปานกลาง
        ที่กล่าวมานี้เป็นหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังหาเพียงพอที่จะทำให้การตีความเอกสารได้ผลไปทุกกรณี ไม่ ฉะนั้นจึงควรอาศัยหลักเกณฑ์ที่นักกฎหมายส่วนใหญ่ได้วางไว้แล้วมาเป็นเครื่อง ช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย หลักเกณฑ์เช่นว่านี้ จำเป็นต้องอ้างอิงหลักเกณฑ์ของนักกฎหมายต่างประเทศ เพราะได้รับการรับรองมาชำนาญและเป็นสากลแล้ว

        หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ ผู้เขียนได้นำมาจากหลักทั่วไป และหลักย่อยในการตีความในหนังสือชื่อ The Construction of Deeds and Statues โดย Sir Charles E. Odgers, M.A.B.C.L., of Middle Temple, Barrister – at – Law
หลักทั่วไป


        1. ความหมายของเอกสารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดนั้นจะต้องตีความเอาจากเอกสารนั้นเอง หลักนี้เป็นหลักประการแรกที่ต้องใช้ในการตีความ กล่าวคือการจะค้นหาเจตนาของผู้ทำเอกสารนั้น เบื้องแรกต้องค้นเจตนาเอาจากถ้อยคำหรือข้อความที่ปรากฏในเอกสารนั้นเสียก่อน ทั้งนี้เพราะข้อความหรือถ้อยคำที่แสดงออกนั่นแหละคือเจตนาของผู้ทำเอกสาร นั้น หลักมีอยู่ว่า ศาลไม่มีหน้าที่เดาเจตนาของคู่สัญญานอกเหนือไปจากข้อความที่แสดงออก มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าศาลเป็นผู้ทำเอกสารนั้นเสียเอง

        2. ถ้าถ้อยคำที่ใช้ในเอกสารไม่ชัดเจนหรือกำกวม ต้องตีความตามเจตนาของผู้ทำเอกสารนั้น ทั้งนี้หมายความว่าในเบื้องแรกต้องใช้หลักข้อ 1 ก่อน คือค้นหาเจตนาของผู้ทำเอกสารจากข้อความที่ปรากฏอยู่ในเอกสารนั้น แต่ถ้าเจตนาที่ค้นได้นั้นเกิดขัดแย้งหรือไม่ตรงกับถ้อยคำที่ใช้ในตอนใดแล้ว ต้องถือเอาเจตนานั้นเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำ หลักนี้ก็ตรงกับมาตรา 132 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรานั่นเอง หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตีความต้องตีตามถ้อยคำที่ใช้ในเอกสาร แต่ต้องให้สอดคล้อง หรือใกล้เคียงกับเจตนาของผู้ทำเอกสารให้มากที่สุด เช่นผู้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่หลานชายคนหนึ่งและ “บุตรทั้งสามคนของลูกผู้พี่ของข้าพเจ้า” โดยให้ได้รับเท่า ๆ กัน ปรากฏว่า ลูกผู้พี่ของเจ้ามรดกมีบุตรทั้งหมดสี่คนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ และทุกคนก็ถูกกันดีกับเจ้ามรดก ดังนี้ถือว่าเจ้ามรดกมีเจตนาจะยกทรัพย์ให้แก่บุตรทุกคนของลูกผู้พี่นั้น
        การตีความให้ต้องตามเจตนาของผู้กระทำเอกสารนั้น ก็เพื่อให้เจตนาของผู้กระทำบรรลุผล ตามนัยสุภาษิตที่ว่า Ut res magis valeat guam pereat (It is better for a thing to have effect than to be made void) ซึ่งหมายความว่า ตีความให้เป็นผลดีกว่าที่จะตีความให้ไร้ผล อันตรงกับ มาตรา 10 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเรา ดังกล่าวมาแล้ว โดยการตีความให้เป็นผลเช่นนี้ ถ้าสัญญาอาจตีความได้เป็นสองนัย นัยหนึ่งชอบด้วยกฎหมาย อีกนัยหนึ่งขัดต่อกฎหมาย ศาลต้องตีความไปตามนัยที่ชอบด้วยกฎหมาย

        3. ถ้อยคำที่ใช้ในเอกสารต้องตีความตามความหมายของถ้อยคำนั้น ๆ ความหมายของถ้อยคำนั้นมิใช่จะถือเอาความหมายตามพจนานุกรม หรือความหมายของนักภาษาศาสตร์ หากแต่ถือเอาความหมายที่รู้กันอยู่ทั่วไปในขณะทำเอกสารนั้นเป็นสำคัญ แต่ถ้าผู้ทำเอกสารนั้นได้ให้ความหมายพิเศษสำหรับถ้อยคำนั้นไว้ก็ต้องเป็นไป ตามนั้น เช่น ถ้อยคำที่ใช้ในการค้าบางประเภทเป็นต้น หรือถ้าผู้ทำเอกสารชอบใช้ถ้อยคำให้มีความหมายแตกต่างไปจากความหมายธรรมดา อยู่เสมอ ก็ต้องตีความไปตามความหมายที่ผู้ทำเอกสารชอบใช้นั้น
        การตีความถ้อยคำตามความหมายธรรมดาของถ้อยคำนั้น หากจะทำให้ความหมายนั้นขัดแย้งหรือไม่ลงรอยกับข้อความอื่นในเอกสารนั้นแล้ว ก็ต้องตีความหมายของถ้อยคำให้ลงรอยกับข้อความอื่น ๆ ในเอกสารนั้นด้วย

        4. ความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในเอกสารนั้นย่อมสุดแล้วแต่พฤติการณ์ทั่ว ๆ ไปของคู่สัญญาด้วย เช่น คู่สัญญาคือใคร ได้ทำสัญญาหรือเอกสารในพฤติการณ์เช่นไร และคู่สัญญาชอบใช้ถ้อยคำให้มีความหมายเป็นพิเศษอย่างไรบ้าง ฉะนั้นจึงอาจนำพยานอื่นมาสืบประกอบ เพื่อหาความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำได้ แต่ทั้งนี้เพียงเพื่อให้อธิบายความหมายของถ้อยคำ ในเมื่อถ้อยคำนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น หาใช่นำมาเพื่อให้ตีความเอกสารนั้นไม่
        ตามปกติพยานอื่นจะยอมให้นำมาสืบได้แต่เพียงในกรณีต่อไปนี้ คือ         (1) ถ้าเอกสารนั้นทำเป็นภาษาต่างประเทศ ยอมให้นำพยานมาสืบถึงความหมายอันแท้จริงของถ้อยคำที่เป็นภาษาต่างประเทศนั้นได้
        (2) ถ้าถ้อยคำที่ใช้เป็นคำเฉพาะในศิลปหรือวิชาการ และได้ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับศิลปหรือวิชาการนั้น ๆ แล้ว ก็ยอมให้นำพยานอื่นมาสืบอธิบายความหมายโดยเฉพาะของคำนั้นได้
        (3) ถ้าเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวกับการค้า พยานอื่นที่เกี่ยวกับประเพณีการค้า และความหมายทางการค้าของถ้อยคำย่อมนำมาสืบได้
        (4) ถ้าเป็นเอกสารโบราณ และถ้อยคำที่ใช้นั้นอาจมีความหมายแตกต่างไปจากความหมายในสมัยปัจจุบัน ก็ยอมให้นำพยานอื่นมาสืบอธิบายความหมายได้ อย่างไรจึงจะถือว่าเป็นเอกสารโบราณ เพื่อประโยชน์ในการยอมให้นำพยนอื่นมาสืบประกอบได้นั้น Evidence Act, 1938 มาตรา 4 ถือเอาเอกสารที่มีอายุกว่า 20 ปี

        5. เป็นการนำสืบถึงพฤติการณืแวดล้อมเกี่ยวแก่เอกสารที่จะต้องตีความนั้น เช่น นำสืบถึง ตัวบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่ที่ปรากฏในเอกสาร และข้อเท็จจริงประการอื่นอันจะทำให้ศาลสามารถเข้าไปอยู่ในสถานะของผู้ทำ เอกสารนั้นได้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้
        ถ้าถ้อยคำที่จะต้องตีความนั้นมีคำนิยาม หรือคำอธิบายไว้แล้วในกฎหมาย ก็ไม่ยอมให้นำพยานอื่นมาสืบอธิบายอีก ต้องตีความไปตามคำนิยามหรือคำอธิบายของกฎหมายนั้น ๆ

        6. คำเฉพาะในภาษากฎหมาย ย่อมมีความหมายตามภาษากฎหมายที่ใช้อยู่ ฉะนั้น ถ้ามีข้อความเช่นนี้ในเอกสารก็ต้องถือว่าผู้ทำเอกสารประสงค์จะให้ถ้อยคำมี ความหมายตามภาษากฎหมายเช่นนั้น แม้ว่าอาจจะไม่ตรงกับความประสงค์ของผู้ทำเอกสารก็ตาม
        7. เอกสารต้องตีความเอาจากข้อความทั้งหมดรวมกัน มิใช่แยกตีความเป็นตอน ๆ ไป กล่าวคือต้องอ่านเอกสารนั้นทั้งฉบับแล้วจึงตีความหาเจตนาของผู้ทำเอกสารนั้น ถ้าเอกสารนั้นมีหลายฉบับและเกี่ยวข้องกัน ก็ต้องอ่านเอกสารทุกฉบับนั้นประกอบกันด้วย

        ถ้าเอกสารเป็นแบบพิมพ์ และผู้ทำเอกสารได้กรอกข้อความเป็นตัวเขียนหรือคำพิมพ์ดีดลงไปในแบบพิมพ์นั้น ถ้ามีการตีความ ต้องถือเอาตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ดีดเป็นสำคัญ เพราะถือว่าเป็นถ้อยคำที่ผู้ทำเอกสารใช้เพื่อแสดงเจตนาของตน ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อได้ตกลงซื้อไม้จากผู้ขาย และข้อความในสัญญาซื้อขายที่เป็นตัวพิมพ์มีว่า “ถ้าส่งไม้ไม่เต็มระวางบรรทุกของเรือ ผู้ซื้อจะต้องรับไม้จำนวนนั้น แต่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนสำหรับไม่ที่ส่งต่ำกว่าระวางบรรทุก” และมีข้อความพิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดว่า “ขายตามจำนวนที่บรรทุกมาในเรือ ไม้ที่มิได้ส่งลงเรือถือว่า งด” ผู้ขายส่งไม้ต่ำกว่าจำนวนระวางบรรทุก ผู้ซื้อฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ศาลพิพากษาว่า สัญญานี้ให้สิทธิผู้ขายที่จะบรรทุกไม้ลงเรือหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าบรรทุกลงเรือแล้วก็ถูกผูกมัดที่จะต้องขายให้ผู้ซื้อ หากบรรทุกไม้ไม่เต็มระวางบรรทุก ผู้ซื้อก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแต่อย่างใด

        8. เพื่อให้การตีความเป็นไปตามเจตนาของผู้ทำเอกสารมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ บางกรณีศาลอาจต้องเติมคำเพิ่มขึ้น เพื่อให้อ่านได้ความ หรือไม่รับฟังคำบางคำที่ขัดแย้งกับข้อความอื่น หรืออาจจัดวางถ้อยคำเสียใหม่ให้อ่านได้ความก็ได้ เช่น กู้เงินไป 70 ปอนด์ “สัญญาจะส่งใช้เดือนละ 7” ศาลก็เติมคำว่า “ปอนด์” ต่อท้ายคำว่า 7 ให้ เพราะถือว่าเป็นเจตนาของผู้กู้เช่นนั้น หรือเช่นสัญญาเช่าที่ให้เช่าทรัพย์แก่ผู้เช่าสองคน “ร่วมกันและแยกกัน” คำว่าแยกกันต้องถือว่าไม่มี หรือเช่นจำเลยสัญญาจะชำระค่าเสียหายให้โจทก์ แต่มีข้อความต่อไปว่า “โดยจะไม่ทำให้เกิดความรับผิดเป็นการส่วนตัวขึ้นแก่จำเลย” ดังนี้ถือว่าข้อความตอนนี้ต้องตัดออก เพราะเป็นการขัดกับข้อความตอนแรกที่ว่าจำเลยจะชำระค่าเสียหายให้ การชำระค่าเสียหายย่อมเป็นการรับผิดส่วนตัว ถ้าไม่ตัดข้อความตอนนี้ออก ข้อสัญญาของจำเลยก็ไร้ผล

หลักย่อย

  1. ถ้าข้อความที่แสดงออกมีกฎหมายกล่าวไว้แล้ว ข้อความนั้นก็ไม่จำเป็นและไม่จำต้องสนใจ
  2. เมื่อมีกฎหมายกล่าวไว้แล้ว ข้อความที่แสดงการให้สิทธิหรือเสรีภาพย่อมไม่ถือว่าจำกัดหรือลบล้างความที่ กฎหมายกล่าวไว้ เช่น ยกที่ดินให้แก่ผู้รับ และให้ผู้รับมีสิทธิขุดถ่านหินในที่ดินนั้นได้ ข้อความที่ให้มีสิทธิขุดถ่านหินในที่ดินนั้นได้ไม่หมายความว่าจะตัดสิทธิ อื่นของผู้รับที่มีตามกฎหมายในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  3. เมื่อมีข้อความตกลงอย่างใดโดยแจ้งชัดแล้ว ถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นความประสงค์ทุกอย่างของผู้ให้ข้อตกลง จึงถือว่าไม่ประสงค์ข้อความอื่นนอกไปจากที่ตกลงไว้ หลักเช่นว่านี้มาจากสุภาษิตลาตินที่ว่า Expressum facit cessare tacitum (When there is express mention of certain things then anything not mentioned is exclude) ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีข้อความชัดแจ้งกล่าวถึงสิ่งใดไว้แล้ว สิ่งอื่นที่มิได้กล่าวไว้ย่อมถือว่าไม่ประสงค์ เช่น โอน “โรงหลอมเหล็กและบ้าน 2 หลัง พร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับบ้านให้” ย่อมไม่หลายความว่าจะโอนเครื่องอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับโรงหลอมเหล็กให้ด้วย
  4. ข้อความที่กล่าวถึงบุคคลหรือสิ่งใดโดยชัดเจนแล้ว ย่อมถือว่าไม่ประสงค์ให้กินความถึงบุคคลหรือสิ่งอื่นในประเภทเดียวกันซึ่งมิ ได้กล่าวไว้ หลักข้อนี้มาจากสุภาษิตลาตินที่ว่า Expressio unius personae vel rei, est exclusio alterius (The express mention of one person or thing is the exclusion of another)
  5. ถ้อยคำต้องตีความไปในทางที่เป็นโทษแก่ผู้ให้ถ้อยคำนั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าใช้หลักการตีความทุกอย่างมาช่วยแล้วยังไม่อาจทราบความหมายอันแท้จริงของ ถ้อยคำที่ใช้ได้ ก็ต้องถือเอาความหมายที่เป็นโทษแก่ผู้ให้ถ้อยคำหรือผู้ทำเอกสารนั้น หลักนี้นำไปใช้กับข้อความที่เป็นข้อยกเว้นในเอกสารด้วย กล่าวคือข้อยกเว้นที่กล่าวไว้ถือว่ามีขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ทำ จึงต้องกล่าวไว้ให้ชัดเจนไม่กำกวม ดังนั้นเมื่อมีข้อสงสัยจึงต้องตีความให้เป็นผลดีแก่ผู้สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นผู้รับจ้างขนของที่มีข้อความจำกัดความรับผิดไว้ แต่มิได้เขียนให้ชัดเจนพอที่จะคุ้มถึงความรับผิดในความประมาทเลินเล่อของตน ก็ต้องตีความว่า ข้อจำกัดความรับผิดนั้นเฉพาะแต่ในกรณีอื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีประมาทเลินเล่อ ในคดีหนึ่ง โจทก์จ้างรถสามล้อเครื่องบรรทุกของจากจำเลย สัญญามีข้อยกเว้นไว้ว่า “สัญญานี้ไม่ทำให้จำเลยต้องรับผิดในกรรีที่ผู้ขับขี่บาดเจ็บอันเนื่องจากรถ” ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ขี่รถนั้นอานรถได้เลื่อนกระดกไปข้างหน้า จนโจทก์ตกลงไปบาดเจ็บ ศาลวินิจฉัยว่าข้อยกเว้นนี้ไม่กินความถึงความรับผิด เพราะความประมาทของจำเลย ฉะนั้นจำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
        หลักการตีความจากหนังสือดังกล่าวมาข้างต้นนี้ แม้จะเป็นหลักของต่างประเทศ แต่ก็เป็นหลักสากลและมิได้ขัดแย้งกับหลักที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แต่อย่างใด จึงย่อมจะนำมาใช้ประกอบการตีความเอกสารของศาลเราได้ตามความจำเป็นเท่าที่ศาล ผู้พิจารณาคดีจะพิเคราะห์เห็นเป็นการเหมาะสมและยุติธรรม

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ